วันอาทิตย์ที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2553

เทคนิคการเพิ่มความเร็วเว็บไซต์โหลดเร็วขึ้น

1. บีบอัดภาพให้ขนาดไฟล์เล็กลงที่สุด
ภาพต่างๆ ในเว็บไซต์ของคุณควรลดขนาดไฟล์ของภาพให้เล็กลง ให้มีขนาดเล็กที่สุด แต่ต้องคำนึงถึงคุณภาพของภาพด้วย ว่าควรยังมีคุณภาพที่ดีพอสำหรับการรับชมบนเว็บไซต์ (โปรแกรมตกแต่งภาพ ส่วนใหญ่จะมีฟังก์ชึ่นบีบอัดภาพให้มีขนาดเล็กลงมามากๆ โดยที่คุณภาพยังดีอยู่เหมือนเดิม)

2. ใช้ภาพขนาดเล็ก (Thumb Nail)
หากคุณมีภาพขนาดใหญ่ให้ สร้างไฟล์ภาพขนาดเล็ก (Thumb Nail) มาแสดงในเว็บ เพื่อการโหลดเร็วที่สุดของหน้าเว็บไซต์ของคุณ และเมื่อมีการคลิกที่ภาพขนาดเล็กให้ลิงค์ไปยังภาพขนาดใหญ่ หลายคนมักใช้ภาพขนาดใหญ่มาบีบให้เล็กลง แต่ขนาดไฟล์ของภาพยังมีขนาดใหญ่เหมือนเดิม ซึ่งจะทำให้ใช้เวลาโหลดภาพนี้นานเท่ากับโหลดภาพใหญ่ๆ ซึ่งจะทำให้หน้าเว็บไซต์หน้านั้นโหลดได้ช้าลง หรือหากเว็บไซต์คุณมีภาพขนาดใหญ่มาก อาจจะตัดภาพใหญ่ออกเป็นหลายๆ ไฟล์ แล้วนำมาประกอบกันเป็นภาพเดียว เพื่อแบ่งการโหลดภาพให้มีความรวดเร็วยิ่งขึ้น

3. หลีกเลี่ยงภาพอนิเมชั่น หากไม่จำเป็น
ภาพอนิเมชั่น ซึ่งอาจจะเป็น Gif หรือ Flash อาจจะเป็นสิ่งที่ดูน่าสนใจ ดูตื่นตาตื่นใจ แต่ถ้าหากคุณเลือกใช้ภาพที่มีขนาดไฟล์ใหญ่ จนเกินไปจะทำให้หน้าเว็บไซต์ของคุณโหลดช้ามากขึ้น

4. จัดการไฟล์ภาพที่ดี
ผมมักเจอหลายๆ เว็บไซต์ที่มักจะ มีการใช้ภาพเดิมในหลายๆ หน้าในเว็บไซต์ แต่ภาพเดิมๆ ที่ใช้นั้น กลับกลายเป็นภาพคนละชื่อไฟล์กัน (ทั้งๆ ที่เป็นภาพเดียวกัน) และเก็บไว้คนละที่กัน ซึ่งทำให้ทุกครั้งที่มีการเปิดหน้ามา บราวเซอร์ต้องทำการโหลดภาพนั้นมาใหม่ทุกครั้ง แต่หากคุณเลือกใช้ไฟล์ภาพที่เป็นชื่อไฟล์เดียวกัน และเก็บไว้ที่เดียวกัน เมื่อมีการเรียกไฟล์ภาพที่เปิดไปแล้วอีกครั้ง บราวเซอร์จะทำสามารถโหลดภาพที่เคยเรียกมาแล้วได้ทันที โดยที่ไม่จำเป็นต้องไปโหลดภาพนั้นมาอีกครั้ง

5. วางแผนการใช้ ตาราง (Table) ให้ดี
หลายๆ เว็บไซต์มักนิยมใช้ ตาราง (Table) ในการจัดทำเว็บไซต์ ซึ่งหากออกแบบหรือวางรูปแบบของตารางผิด อาจจะทำให้เว็บไซต์ของคุณช้ามากๆ เลย หลีกเลี่ยงการใส่ข้อมูลของเว็บไซต์ทั้งหมดไว้ใน ตารางเดียวกันคลุมทั้งเว็บไซต์ เพราะ บราวเซอร์จะไม่แสดงผลของข้อมูลจนกว่าจะโหลดข้อมูลใน ตารางออกมาจนครบก่อน ดังนั้นคุณควรแบ่งตารางออกเป็นหลายๆ ส่วนเพื่อให้ข้อมูลสามารถแบ่งการโหลดออกมาให้แสดงผลออกมาเป็นส่วนๆ ได้เช่น ส่วนหัว (Header) ส่วนกลาง (Middle) และส่วนท้าย (Footer) ซึ่งจะทำให้เว็บไซต์สามารถแสดงผลได้รวดเร็วมากขึ้น
ตอนนี้คุณอาจเลือกใช้เทคนิค CSS (Cascading Style Sheets) มาใช้ในการวางข้อมูลได้เหมือนกับการใช้ตารางได้ด้วย ซึ่งจะทำให้ข้อมูลในเว็บไซต์คุณสามารถโหลดได้รวดเร็วมากขึ้น

6. ใช้สไตล์ชีท (CCS) ในการควบคุมตัวอักษรในเว็บไซต์
การนำสไตล์ชีท (CCS) มาใช้ในเว็บไซต์ จะทำให้โค๊ดในการเขียนเว็บไซต์มีจำนวนที่ลดลง ซึ่งจะทำให้การโหลดของหน้าเว็บไซต์ รวดเร็วขึ้นได้มาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

กรุณาใช้ข้อความที่สุภาพ